เอ็นทิตี้ (Entity)


1.เอ็นทิตี้ (Entity)

เอนทิตี้ (  Entity  )  หมายถึง  ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเกี่ยวกับคน  สถานที่  สิ่งของ  การกระทำ  ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้  เช่น  เอนทิตี้พนักงาน  สินค้า  ลูกค้า  การสั่งซื้อ  เป็นต้น

 2.  สัมพันธภาพ (Relationship)

ความสัมพันธ์  (  Relationship  )  หมายถึง  คำกิริยาที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสองเอนทิตี้  เช่น
เอนทิตี้พนักงาน  และเอมทิตี้แผนก  มีความสัมพันธ์ในด้าน  “  ทำงานสังกัดอยู่ ”  นั่นคือพนักงานแต่ละคนทำงานอยู่ในแผนกใดแผนหนึ่ง  เป็นต้น

 3.  ตัวแบบข้อมูลที่สำคัญ 3 ประเภทได้แก่อะไรบ้างและมีคำอธิบายว่าอย่างไร

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง

ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นการแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลของเอนทิตี้หนึ่งว่า  มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอย่างมาก  หรือข้อมูลกับอีกเอนทิตี้หนึ่งในลักษณะที่เป็นหนึ่งต่อหนึ่ง
        กำหนดให้  A มีสมาชิก  entity  6  entity  ตามความสัมพันธ์ ( a1, a2, a3, a4, a5, a6) และ B มี entity 6 entity ตามความสัมพันธ์  ( b1, b2, b3, b4, b5 )

                               

        ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง หมายถึงความว่า สมาชิกใน entity A ที่มีความสัมพันธ์กับ entity B จะมีความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งเท่านั้น เช่น กำหนดให้ entity นักศึกษามีความสัมพันธ์กับ entity อาจารย์แสดงว่านักศึกษาหนึ่งคน จะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คน ในทางกลับกันก็คืออาจารย์ที่ปรึกษาหนึ่งคนจะต้องมีนักศึกษาได้ 1 คนซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริง

 ความสัมพันธ์แบบ หนึ่งต่อกลุ่ม

                                                                              

       ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เช่น นักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น   หมายความว่า  entity ใน A มีความสัมพันธ์กับสมาชิก entity B แบบหนึ่งต่อกลุ่ม เช่น กำหนดให้ entityอาจารย์ที่ปรึกษา มีความสัมพันธ์กับ entity นักศึกษา แบบหนึ่งต่อกลุ่ม  แสดงว่า  อาจารย์หนึ่งคน  สามารถมีนักศึกษาในสังกัดได้มากกว่าหนึ่งคน  แต่นักศึกษาจะมีอาจารย์ที่ปรึกษาได้เพียงหนึ่งคนเท่านั้น

ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม




        ความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่ม  เช่นนักศึกษากับวิชาที่ลงทะเบียนเรียน

        หมายความว่า  สมาชิกใน  entily  A  มีความสัมพันธ์กับสมาชิกใน entily  B  แบบกลุ่มต่อกลุ่ม  ตัวอย่างเช่น  กำหนดให้  entily  นักศึกษา  มีความสัมพันธ์กับ  entily  วิชาที่ลงทะเบียน  แบบกลุ่มต่อกลุ่มแสดงว่านักศึกษาหนึ่งคนสามารถลงทะเบียน
  เรียนได้มากกว่า  1  วิชา  และในทำนองเดียวกัน  วิชาหนึ่งวิชาสามารถมีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนได้หลายคน





 4. องค์ประกอบของฐานข้อมูลมีกี่อย่าง อะไรบ้าง และเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลอย่างไร อธิบายอย่างละเอียด

องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลโดยทั่วไป  จะเกี่ยวข้องกับ 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1.1  ข้อมูล (Data)  ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล    ข้อมูลในแต่ละส่วนจะต้องสามารถนำมาใช้ประกอบกันได้  เช่น เมื่อแพทย์รักษาผู้ป่วย จะอาศัยข้อมูลจากประวัติการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย  แต่ในกรณีที่ต้องการติดต่อญาติผู้ป่วย ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ไม่ปรากฏอยู่ในประวัติการรักษาพยาบาล ทางโรงพยาบาลสามารถนำชื่อผู้ป่วยไปค้นหาชื่อญาติ ในทะเบียนผู้ป่วยได้ โดยไม่จำเป็นต้องเก็บชื่อญาติผู้ป่วยไว้ในประวัติการรักษาพยาบาลแต่อย่างใด

1.2  ฮาร์ดแวร์  (Hardware)  เป็นอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล

1.3  ซอฟท์แวร์ (Software)  ในการติดต่อกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลของผู้ใช้  จะต้องกระทำผ่านโปรแกรมที่มีชื่อว่าโปรแกรม Database Management System (DBMS)

1.4  ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล (User)  เป็นผู้ที่เรียกใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลมาใช้งาน


 5. อธิบายหน้าที่ของระบบฐานข้อมูลแบบคร่าวๆพอเข้าใจง่ายๆ
ซอฟต์แวร์ ระบบฐานการจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องทำหน้าที่แก้ปัญหาความไม่สมบูรณ์ ไม่คงเส้นคงวาของข้อมูลและทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องไม่ขัดแย้งกันได้ จึงต้องมีหน้าที่ให้ครอบคลุมหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

   

1.หน้าที่จัดการพจนานุกรมข้อมูล

  ใน การออกแบบฐานข้อมูลโดยปกติ ผู้ออกแบบได้เขียนพจนานุกรมข้อมูลในรูปของเอกสารให้กับโปรแกรมเมอร์โปรแกรมเมอร์จะใช้ซอฟต์แวร์ระบบการจัดการฐานข้อมูลสร้างพจนานุกรมข้อมูลต่อไปและสามารถกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตาราง  เมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลจำเป็นต้องเปลี่ยนที่พจนานุกรมข้อมูลด้วย โปรแกรมเมอร์สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูลได้ทันที ต่อจากนั้นจึงให้พจนานุกรมข้อมูลพิมพ์รายงาน พจนานุกรมข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วเป็นเอกสารได้เลยทันที่ โดยไม่ต้องแก้ไขที่เอกสาร

  

2.หน้าที่จัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูล 

  ระบบ การจัดการฐานข้อมูลที่ทันสมัยจะไม่ทำหน้าที่เพียงจัดการแหล่งจัดเก็บข้อมูล เท่านั้น แต่ยังเพิ่มหน้าที่ที่เกี่ยวกับการสร้างฟอร์มป้อนข้อมูลเข้าหรือกำหนดแบบจอ ภาพ แบบรายงาน หรือแม้แต่การตรวจสอบข้อมูลนำเข้าว่าถูกต้องหรือไม่ และจัดการเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

   

3.การเปลี่ยนรูปแบบและการแสดงผลข้อมูล

  การเปลี่ยนรูปแบบและการแสดงผลข้อมูล เป็นหน้าที่สำหรับเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าไปเป็นโครงสร้างข้อมูลจะจัด เก็บ ซึ่งอยู่ในมุมมองทางกายภาพ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ระบบจัดการฐานข้อมูลทำข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมประยุกต์ได้

  

 4.จัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล

  ระบบ จัดการฐานข้อมูลทำหน้าที่รักษาความมั่นคง ความปลอดภัยของข้อมูล การไม่ยินยอมเข้าถึงข้อมูลจากผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปใช้ฐานข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานข้อมูลประเภทผู้ใช้หลายคน นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้แต่ละคนใช้คำสั่ง เพิ่ม หรือลบ ปรับปรุงข้อมูลได้เป็นรายคนหรือรายกลุ่ม

   

5.ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้  

  การ ควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เป็นการทำหน้าที่ให้ผู้ใช้เข้าใช้ได้หลาย ๆ คนในเวลาเดียวกันโดยไม่ทำให้เกิดขัดข้องของข้อมูล ซึ่งจะเน้นกฎความสมบูรณ์ของข้อมูลและการใช้ข้อมูลพร้อมกัน



 6.สำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล

 การสำรอง ข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล เป็นหน้าที่ที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูลมั่นใจว่าข้อมูล ที่จัดเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้เสียหาย ยังมีความสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ผู้ใช้ที่เป็นผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถใช้คำสั่งสำรองข้อมูลและคำสั่งกู้คืน ข้อมูลได้

  

7.จัดการด้านบูรณภาพของข้อมูล

 เป็น ข้อกำหนดให้มีกฎความสมบูรณ์เป็นบูรณภาพ โดยจะให้มีข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันให้น้อยที่สุด แต่ให้มีความถูกต้องตรงกันให้มากที่สุด เพราะในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์จะมีหลาย ๆ ตารางที่สัมพันธ์กันตารางที่เกี่ยวข้องกันจะขัดแย้งกันไม่ได้ 

  

8.เป็นภาษาสำหรับจัดการข้อมูลและจัดสร้างส่วนประสานกับผู้ใช้

 ระบบจัดการฐานข้อมูลจัดให้มีภาษาสำหรับสอบถาม  เป็นภาษาที่เขียนเข้าใจง่ายไม่เหมือนภาษาชั้นสูงประเภท Procedural ทั่วไป ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมภาษาระดับสูงเขียนคำสั่งเข้าไปสอบถามข้อมูลหรือประมวลผลสารสนเทศได้ตามต้องการ

  

9.เป็นส่วนประสานกับผู้ใช้ในด้านการสื่อสารฐานข้อมูล

   ระบบการจัดการฐานข้อมูลสมัยใหม่จะสนับสนุนการทำงานแบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเขียนคำสั่งด้วยโปรแกรมที่ทำงาน





บทความที่ได้รับความนิยม